วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ปอเทือง พืชบำรุงดิน


การปลูกปอเทือง

ปอเทืองเป็นพืชตระxxxลถั่ว ลักษณะเป็นไม้พุ่มความสูง 100 – 300 เซนติเมตร ลำต้นกลม ใบยาวเรียวแหลม ดอกสีเหลือง ฝักเป็นรูปทรงกระบอก เมล็ดคล้ายรูปไตสีน้าตาล ความยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร มี 10 -20 เมล็ด / ฝัก 

การเตรียมดินและการปลูก มี 2 วิธี 
1. ปลูกโดยไม่ต้องเตรียมดิน 
1.1 ก่อนการเก็บเกี่ยวข้าว ใช้เมล็ดพันธุ์ปอเทืองหว่าน 1 – 2 วัน จึงใช้รถเก็บเกี่ยวข้าว วิธีนี้จะสูญเสียเมล็ดพันธุ์มากจากการกลบของฟางข้าว 
1.2 หลังการเก็บเกี่ยวข้าว ใช้เมล็ดปอเทืองหว่าน ตามร่องรถเกี่ยวข้าว หรือกระจายฟางข้าวให้ทั่วแปลง หรือจะเก็บฟางข้าวไว้เลี้ยงสัตว์ วิธีนี้จะได้ใช้พื้นที่มากขึ้น 
2. ปลูกโดยการเตรียมดิน 
ใช้รถไถขณะดินมีความชื้นอยู่ แล้วหว่านเมล็ดปอเทือง จะคราดกลบหรือไม่ก็ได้ ถ้าคราดกลบจะงอกได้สม่ำเสมอและเจริญเติบโตดี 

การดูแลรักษา 
หลังการหว่านเมล็ดพันธุ์ปอเทืองแล้วประมาณ 3 – 5 วัน จะงอกโดยอาศัยความชื้นที่มีอยู่ในดิน ไม่ต้องให้น้ำ เมื่ออายุ 50 – 60 วัน 
ดอกเริ่มบานจากข้างล่างก่อน หลังดอกร่วงโรยจะติดฝักจากข้างล่างก่อนเช่นเดียวกัน ฝักจะแก่เก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 120 – 130 วัน ศัตรูที่สำคัญได้แก่หนอนผีเสื้อจะเจาะฝักกินเมล็ดข้างใน 

การเก็บเกี่ยวผลผลิต มี 2 วิธี 
1. ใช้รถเกี่ยวข้าวเก็บเกี่ยว แต่ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากไม่คุ้มกับการลงทุนทั้งเจ้าของรถเกี่ยวคือ ลำต้นจะมีความแข็งเกิดความเสียหายต่อเครื่องจักรสำหรับเกษตรกรผลผลิตค่อนข้างต่ำจึงไม่คุ้มต่อการลงทุน 
2.ใช้เคียวเกี่ยวผึ่งแดดไว้ 3 – 4 แดด นำมาใส่กระสอบแล้วทุบให้ฝักแตก หรือนำมากองบนผ้าใบ บนตาข่าย บนลานแล้วใช้รถย่ำในบริเวณแปลงนาได้เลย ผลผลิตเฉลี่ย 80 - 120 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 20 – 25 บาทต่อกิโลกรัม จำหน่ายให้สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัด

สรุป 
การปลูกปอเทืองเพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดินควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดก่อนการปลูกพืชหลัก แต่การปลูกปอเทือง ช่วงเดือน ตุลาคม ถึงเดือน ธันวาคม เหมาะสำหรับเก็บเมล็ดพันธุ์เพราะจะได้เมล็ดที่มีคุณภาพ หลังจากเก็บเกี่ยวในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือน 
มีนาคม ไถกลบต้นตอ 
จากการยืนยันของเกษตรกร นายสำรวย โมรานอก ในการปลูก ปีที่ 1 – 2 การเจริญเติบโตไม่ดีนัก หลังจาก 5 ปี ปอเทืองจะเจริญสมบูรณ์ และข้าวที่ปลูกไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเลย ดังนั้นนอกจากจะเป็นพืชบำรุงดินแล้วยังมีรายได้เสริม 2,000 – 3,000 บาท/ไร่
เมล็ดพันธ์ปอเทือง  ผมได้รับการสนับสนุนจาก

สำนักงาสำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร    มา 75 ก.ก. ครับ งบประมาณปี 2555-2556 ครับ ต้องขอบคุรมา ณ ที่นี้ ครับ




วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปุ๋ยหมักชีวภาพสําหรับมันสําปะหลัง


“เริ่มจากแช่ท่อนพันธุ์มันในน้ำสกัดมูลสุกรก่อน ปลูก 1 คืน เพื่อให้ท่อนพันธุ์ดูดธาตุอาหารเข้าไป เมื่อมัน
งอกและตั้งตัวได้แล้ว ก็ใช้น้ำสกัดจากมูลสุกรรดดินหรือผสมในระบบน้ำหยด รวมทั้งฉีดพ่นน้ำสกัดมูลสุกร
ทางใบทุก 15 วัน ต้นอ่อนมันสำปะหลังที่งอกออกมาโตเร็ว โดยผลการทดลองในพื้นที่ จ.นครปฐม
กาญจนบุรี และ ราชบุรี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ ได้ผลผลิตสูงมาก”
ข้อ ควรปฏิบัติในการปลูกมันสำปะหลังโดยใช้ระบบน้ำหมักมูลสุกรคือ การแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำปุ๋ยหมัก
ร่วมกับการให้น้ำหลังปลูก จะทำให้มันออกรากมากกว่า 20 ราก ต่อมารากส่วนหนึ่งจะพัฒนาเป็นหัวซึ่งจะ
เพิ่มผลผลิตได้มาก โดยเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม เกษตรกรจะปลูกกันมาก และรากจะเริ่มสะสมอาหาร
เดือนสิงหาคม-กันยายน ช่วงนี้ควรฉีดปุ๋ยหมักทางใบช่วยทุก 15 วัน จะทำให้หัวมันมีเปอร์เซ็นต์แป้งดีมาก
ผลเฉลี่ยต่อไร่ประมาณ 16 ตัน
วิธีสกัดน้ำหมักมูลสุกร
1. มูลสัตว์ ๑๐ กิโลกรัม
2. น้ำ ๑๐๐ กิโลกรัม หรือ ลิตร
3. น้ำตาลทรายหรือกลูโคส ๑ กิโลกรัม ไม่ควรใช้กากน้ำตาล เพราะเราจะเอาไปฉีดพ่นใบ
“เอามูลใส่ถุงผ้าถุงกระสอบหรือกระสอบปุ๋ย ตามแต่จะหาได้ หมักแช่ไว้ ๑๐ วัน หรือมากกว่าเวลาใช้นำน้ำ
ที่ได้จากการแช่หมัก ๑ ลิตร ผสมน้ำได้ตั้งแต่ ๑๐๐ -๑๐๐๐ ลิตร หรือมากกว่า ขึ้นกับ ชนิดของใบพืชที่เรา
จะใช้ ดังนั้น ก่อนใช้ควรทดลองทีละน้อย ว่า ระดับไหนเหมาะสมกับพืชของเรา และมูลสัตว์ที่แตกต่าง
ชนิดกัน หรือแตกต่างแหล่งกัน ก้มีสารอาหารหรือธาตุอาหารที่มีปริมาณมากน้อยแตกต่างกันด้วย หรือ ทำ
น้ำสกัดมูลสุกร โดยใช้มูลสุกรแห้งแชน้ำอัตราส่วน 1 : 10 แช่ไว้ 24 ชั่วโมง นำน้ำสกัด
ส่วนใสเจือจางด้วยน้ำ 1 ต่อ 10-20 ใช้รดรอบๆ ต้นพืชและฉีดพ่นทางใบ หรือ น้ำล้างคอก/น้ำทิ้งจาก
ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ใช้เครื่องดูดขึ้น ไปเจือจางกับน้ำตามความเหมาะสม แล้วฉีดพ่นในแปลงปลูกพืช”

ปริมาณธาตุอาหารทั้งหมดในมูลสุกร (เปอร์เซ็นต์)
- ไนโตรเจน 2.69% : เพิ่มการเจริญของกิ่ง ก้าน ใบ ทำให้ใบพืชมีสีเขียวเข้มขึ้น และป้องกันการร่วงของใบ กิ่ง ผล
- ฟอสฟอรัส 3.24% : เร่งการเจริญของดอก ผล และราก เพิ่มการดูดน้ำ และช่วยการงอกของเมล็ด
- โพแทสเซียม 1.12% : ช่วยให้ลำต้นแข็งแรง ผลใหญ่ รวงโต และเกี่ยวข้องกับการสร้างแป้งและโปรตีน
- แคลเซียม 3.85% : ช่วยการงอกของเมล็ด สร้างเซลล์ใหม่ในส่วนของยอดและราก ยืดเวลาการเก็บและความคงความสดของผลที่เก็บเกี่ยวแล้วได้นานขึ้น
- แมกนีเซียม 1.18% : ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ,แป้ง และช่วยการงอกของเมล็ด
- ซัลเฟอร์ 0.19% : เป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโน โปรตีน ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างสารสีเขียวในพืช และทำให้พืชผักมีรสดีขึ้น
- โซเดียม 0.27%
- เหล็ก 0.44% : เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแส'สังเคราะห์คลอโรฟิลล์ปริมาณธาตุอาหารทั้งหมด (มก./กก.)
- ทองแดง 611.07 : เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง กิจกรรมของเอนไซม์ มีผลต่อการสร้างผลและเมล็ด
- แมงกานีส 1030.13 : ช่วยการยืดตัวของราก ทำให้รากแข็งแรงเป็นโรคได้ยาก และช่วยการสังเคราะห์ด้วยแสง
- สังกะสี 975.75 : มีบทบาทสำคัญในการปฏิสนธิและการพัฒนาของเมล็ด




วิธีสกัดน้ำหมักมูลสุกร

1. มูลสัตว์ ๑๐ กิโลกรัมมูลใช้แห้งหรือเปียกก็ได้ เพราะเราต้องเอาไปแช่ให้เปียกอีกทีนึง  แต่ส่วนใหญ่ใช้มูลแห้งเพราะมูลเปียกมันเหม็นไปหน่อย และรอเก็บแต่มูลเปียกมันลำบาก

2. น้ำ ๑๐๐ กิโลกรัม หรือ ลิตร

3. น้ำตาลทรายหรือกลูโคส ๑ กิโลกรัม ไม่ควรใช้กากน้ำตาล   ใช้ได้เหมือนกันหมด ขอให้เป็นน้ำตาล


น้ำหมักมูลสุกรที่แช่ท่อนพันธ์ก่อนปลูก
ต้องเจือจางก่อน เจือจางในอัตราส่วน 1:10

น้ำขี้หมูฉีดพ่นช่วยทางใบก็จะทำให้การเจริญเติบโตช่วง 2-3  เดือนแรกดีมาก
ผลผลิดประมาณ 8-10 ตัน ในระยะเวลา1 ปี






ก่อนปลูก 

 ใส่แกลบดิบ1-3ตันต่อไร่ 
  ใส่ขี้ไก่แกลบอีก 1ตัน ต่อไร่ 
     ขนไปใส่ตอนก่อนขุดมัน จะได้ประหยัดค่าไถ

    ผลผลิต น่าจะเพิ่มได้เท่าตัว
   ปีต่อไปใส่เฉพาะขี้ไก่แกลบอย่างเดียว 
   ถ้าดินเป็นกรดมาก หาโดโลไมล์ ใส่ซัก 300กิโล/ไร่ 

   ดูแลไม่ให้มีหญ้าช่วงแรกดีๆ


หว่านปอเทืองแล้วไถกลบตอน45วัน รออีก15วันแล้วปลูกมัน จะเห็นความแตกต่างอย่างมากๆ

เพราะมันสำปะหลังจะแข็งแรงสร้างสารพิษในตัวเอง ทำให้แมลงรบกวนน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด

อาจรองก้นหลุมด้วยฟูราดาน ป้องกันปลวกมด 

มันสำปะหลังหาปุ๋ย 15-7-18 ครับถ้าไม่มีใช้ 15-15-15 หรือ 13-13-21 ก็ได้ใส่ตอนมันอายุ1เดือ

อัตราไร่ละประมาณ 50  กก.  การใส่ปุ๋ยมัน ต้องใส่โดยการขุดระหว่าง  ต้นบนร่องแล้ว  กลบในดิน ใส่ระหว่างต้น

แล้วกลบด้วยนะครับ ไม่กลบจะสูญเสียปุ๋ยไปเปล่าๆ 

ระยะวิกฤติ 4เดือนแรกทำรุ่นหญ้าให้ได้ทัน ไม่ทันหัวจะไม่โตครับ


 อัตราไร้ละประมาณ 50  กก.   

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิธีการเพาะปลูกมันสำปะหลังที่เหมาะสม


ความคิดเห็นที่ 14
วิธีการเพาะปลูกมันสำปะหลังที่เหมาะสม

1. การเตรียมดิน
หากดินที่ทำการเพาะปลูกมันติดต่อกันหลายปี ควรปรับปรุงดิน เพื่อรักษาระดับผลผลิตในระยะยาว ด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเปลือกมันชนิดเก่าค้างปี (จากโรงแป้งทั่วไป) ที่หาได้ในท้องถิ่น หรือ ปลูกพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ หมุนเวียนบำรุงดิน ในกรณีที่พื้นที่ประเภทหญ้าคา ควรใช้ยาราวด์อัพหรือเครือเถาต่าง ๆ ควรใช้ยาสตาร์เรน ฉีดพ่นยาจำกัดเสียก่อนการไถ จากนั้นไถครั้งแรกโดยไถกลบวัชพืชก่อนปลูกด้วยผาน 3 (อย่าเผาทำลายวัชพืช) ให้ลึกประมาณ 20-30 ซม. แล้วทิ้งระยะไว้ประมาณ 20-30 วัน เพื่อหมักวัชพืชเป็นปุ๋ยในดินต่อไป ไถพรวนด้วยผาน 7 อีก 1-2 ครั้ง ตามความเหมาะสม และรีบปลูกโดยเร็ว ในขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่

2. การเตรียมท่อนพันธุ์
ใช้ท่อนพันธุ์มันที่สด อายุ 10-12 เดือน ตัดทิ้งไว้ไม่เกินประมาณ 15 วัน โดยติดให้มีความยาวประมาณ 20 ซม. มีตาไม่น้อยกว่า 5 ตา เพื่อป้องกันเชื้อราและแมลง ควรจุ่มท่อนพันธุ์ในยาแคปแทน 1.6 ขีด (160 กรัม) ผสมร่วมกับมาลาไธออน 20 ซีซี ในน้ำ 20 ลิตร ประมาณ 5 นาที ก่อนปลูก

3. การปลูก
ปลูกเป็นแถวแนวตรง เพื่อสะดวกในการบำรุงรักษาและกำจัดวัชพืช โดยใช้ระยะระหว่างแถว 1.20 เมตร ระยะระหว่างต้น 80 ซม. และปักท่อนพันธุ์ให้ตั้งตรงลึกในดินประมาณ 10 ซม.

4. การฉีดยาคุมเมล็ดวัชพืช
สำหรับการปลูกในฤดูฝนสภาพดินชื้น ควรฉีดยาคุมวัชพืชด้วยยาไดยูรอน (คาแม็กซ์) หลังจากการปลูกทันที ไม่ควรเกิน 3 วัน หรือก่อนต้นมันงอก หากฉีดหลังต้นมันงอก อาจทำให้ต้นมันเสียหายได้ ใช้ยาในอัตรา 6 ขีด (600 กรัม) ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นได้ประมาณ 1 ไร่ครึ่ง

5. การกำจัดวัชพืชและการใส่ปุ๋ย
กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 1 ประมาณ 30-45 วัน หลังการปลูก โดยใช้รถไถเล็กเดินตาม หรือ จานพรวนกำจัดวัชพืช ติดท้ายรถแทรกเตอร์ พร้อมทั้งใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25-50 กก./ไร่ ห่างจากต้นมัน 1 คืบ (20 ซม.) จากนั้นใช้จอบกำจัดวัชพืชส่วนที่เหลือ พร้อมกับกลบปุ๋ยไปด้วย หรือใส่ปุ๋ยโดยการขุดหลุม ห่างจากโคนต้น 1 คืบ แล้วกลบดินตามก็ได้ ข้อสำคัญควรใส่ปุ๋ยขณะที่ดินมีความชื้นอยู่ กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 2 ประมาณ 60-70 วัน หลังการปลูก โดยปฏิบัติเช่นเดียวกันกับครั้งแรก กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 3 ตามความจำเป็น โดยใช้จอบถาก หรือฉีดพ่นด้วยยากรัมม๊อกโซน (ควรใช้ฝากครอบหัวฉีด เพื่อป้องกันไม่ให้ยาโดนตาและลำต้นมัน)

6. การเก็บเกี่ยว
ทำการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงอายุที่เหมาะสม คือ ประมาณ 10-12 เดือน พร้อมทั้ง วางแผนการเตรียมท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เพื่อการปลูกในคราวต่อไปส่วนของต้นมันสำปะหลังที่ไม่ใช้ เช่น ใบ กิ่ง ก้าน หรือ ลำต้น ควรสับทิ้งไว้ในแปลง เพื่อให้เป็นปุ๋ยพืชสดในดินต่อไป
การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย มันสำปะหลังเป็นพืชที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงเมื่อเทียบกับพืชไร่อื่นๆ ดังนั้นจึงต้องการธาตุอาหารจากดินเป็นจำนวนมาก
เมื่อมีการปลูกมันสำปะหลังติดต่อกันหลายปี ธาตุอาหารในดินย่อมลดลงตามลำดับ ส่งผลให้ผลผลิตของมันสำปะหลัง
ลดลงตามไปด้วย ดังนั้นการปลูกมันสำปะหลังจึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของ
ดิน โดยใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือสูตร 16-8-16ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง๐ละเท่าๆกัน ในครั้งแรกให้
ใส่หลังจากปลูกมันสำปะหลังแล้ว 1 เดือน ครั้งที่ 2 ใส่เมื่อมันสำปะหลังมีอายุได้ 3 เดือน นอกจากการใส่ปุ๋ยเคมีแล้ว
เกษตรกรอาจใช้ปุ๋ยพืชสด โดยการปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม หรือปอเทือง แล้วไถกลบในระยะก่อนออกดอก
หรือปลูกพืชแซมที่ช่วยบำรุงดินปลูกระหว่างแถว เพื่อช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินได้อีกวิธีหนึ่ง
การกำจัดวัชพืช เป็นสิ่งที่จำเป็นมากเนื่องจากการปล่อยให้วัชพืชขึ้นแข่งขันกับมันสำปะหลังโดยไม่กำจัดเลย จะทำให้
ผลผลิตลดลงถึง 25-50 เปอร์เซนต์ การกำจัดวัชพืชควรทำอย่างน้อย 2 ครั้ง คือ เมื่อมันสำปะหลังมีอายุได้ 30 และ 60